Guestpost โฟสฟรี ถ้าคุณมีสาระดีๆ ที่นี่เราให้คุณได้แบ่งปัน

Notifications
Clear all

"ทักษะดิจิทัล" คนไทยต่ำ รั้งท้ายอันดับ 39 จาก 63 ประเทศทั่วโลก

1 Posts
1 Users
0 Likes
454 Views
supachai
(@supachai)
Posts: 2492
Noble Member
Topic starter
 

ทักษะดิจิทัล คนไทยต่ำ รั้งท้าย

(13 มี.ค.64) คนไทยใช้ "อินเทอร์เน็ต" เฉลี่ย 4 ชม. 57 น. แต่กลับมี "ทักษะดิจิทัล" อยู่ที่อันดับ 39 จาก 63 ประเทศ สกิลอะไรที่คนไทยควรมีเพื่อโลกการทำงาน "ดิจิทัล" ในอนาคต ต้องรู้!

เราไม่ทิ้งกัน, เราเที่ยวด้วยกัน, คนละครึ่ง, เราชนะ, เรารักกัน คือมาตรการเยียวยาโควิด-19 ของรัฐบาลไทย โดยเน้นการใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน แต่ปัญหาที่มักเกิดขึ้นขณะใช้มาตรการต่างๆ ก็คือ ประชาชนจำนวนหนึ่งยังเป็นกลุ่มที่ไม่มีสมาร์ทโฟน และเข้าไม่ถึงอินเทอร์เน็ต ทำให้รัฐต้องแก้ไขเรื่องนี้อยู่ร่ำไป อาจพูดได้ว่าคนไทยยังมี "ทักษะดิจิทัล" ต่ำกว่าชาติอื่นๆ

เมื่อโลกปัจจุบันถูกนิยามว่า "ยุคแห่งดิจิทัล" ลองมาดูกันว่า คนไทยมีความพร้อมแค่ไหนกับโลกใบนี้? กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ พาไปเจาะลึกดูการจัดอันดับเรื่อง "ทักษะดิจิทัล" ของประชากรทั่วโลก พร้อมสกิลที่ต้องมีเพื่อให้อยู่รอดได้ในยุคนี้

“โลกดิจิทัล” ที่คนไทยไปไม่ถึง

We are social ซึ่งเป็นเอเจนซีทางด้านโซเชียลมีเดีย ที่ทำรายงานประจำเกี่ยวกับสรุปสถิติการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลทั่วโลก ประเทศไทยมีประชากรที่ใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ในปัจจุบันมากกว่า 60 ล้านคน หรือคิดเป็น 75% ของทั้งหมด

ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลกที่ 59% และมีอัตราการใช้โทรศัพท์มือถือสูงถึง 134% (มีจำนวนเบอร์มากกว่าจำนวนคน) ทั้งนี้ ไม่ได้รวมถึงเบอร์ที่ใช้กับอุปกรณ์ไอโอที และประชากรที่ใช้อินเทอร์เน็ต 97% หรือจำนวน 50.18 ล้านคน จะเข้าอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือเป็นประจำ โดยใช้เวลาเล่นอินเทอร์เน็ตทางมือถือนานถึง 4 ชั่วโมง 57 นาทีต่อวัน

แต่ถึงอย่างนั้น "รายงานการประชุมเวทีเศรษฐกิจโลกปี 2020" (World Economic Forum 2020) กลับชี้ให้เห็นว่าประชากรไทยที่มีทักษะด้านดิจิทัล มีอยู่เพียงร้อยละ 54.9 และยังคงมีปัญหาในการเตรียมกำลังแรงงานเพื่อรองรับทักษะการทำงานในอนาคตอยู่ที่อันดับ 89 จาก 140 ประเทศ

* ตารางแคลอรี่ในอาหาร (Calorie in Food)

สอดคล้องกับรายงานผล "การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัล" (World Digtal Competitiveness Ranking) โดยสถาบัน International Institute for Management Development (IMD) ซึ่งประเมินจากปัจจัยหลัก 3 ข้อ คือ

1. องค์ความรู้ (Knowledge) เป็นการวัดความสามารถในการเข้าใจและเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งมีปัจจัยย่อย ได้แก่ ความสามารถพิเศษ, การฝึกอบรมและการศึกษา และความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์

2. เทคโนโลยี (Technology) เป็นการวัดความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งมีปัจจัยย่อย ได้แก่ โครงสร้างการควบคุม, เงินทุนและโครงสร้างเทคโนโลยี

3. ความพร้อมในอนาคต (Future Readiness) เป็นการวัดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของคน ธุรกิจ และการนำเทคโนโลยีมาใช้ ได้แก่ ทัศนคติที่ปรับตัวได้, ความคล่องตัวทางธุรกิจ และการรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศ

* ตารางแคลอรี่ในผลไม้ (Calorie in Fruits)

โดยผลที่ได้คือประเทศไทยมีคะแนนรวม 64.26 จาก 100 คะแนน และอยู่ที่อันดับ 39 จาก 63 ประเทศ แบ่งคะแนนเป็น

1. องค์ความรู้ ได้คะแนน 54.19 อันดับที่ 43
2. เทคโนโลยี ได้คะแนน 73.16 อันดับที่ 22
3. ความพร้อมรองรับอนาคต ได้คะแนน 49.93 อันดับที่ 45
4. การฝึกอบรม และการศึกษา อันดับ 55
5. ทัศนคติในการปรับตัวทำงานในอนาคต อันดับ 53

เมื่อดูจากตัวเลขแล้วทักษะด้านเทคโนโลยีประเทศไทยมีแนวโน้มคะแนนเพิ่มขึ้น แต่ทักษะด้านความรู้ และความพร้อมรองรับอนาคตกลับมีแนวโน้มลดลง

นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบอันดับทักษะดิจิทัลกับประเทศในอาเซียนแล้ว พบว่า ประเทศไทยอยู่ลำดับ 3 ในอาเซียน ดูภาพรวมได้ดังนี้

1. สิงคโปร์ อันดับ 2
2. มาเลเซีย อันดับ 26
3. ไทย อันดับ 39
4. อินโดนีเซีย อันดับ 56
5. ฟิลิปปินส์ อันดับ 57

* ตารางแคลอรี่ในขนม (Calorie in a Dessert)

ลำบากวันนี้ สบายวันหน้า เหตุผลว่าทำไมต้องอัพสกิลดิจิทัล

ในเมื่ออัตราการใช้อินเทอร์เน็ตที่พุ่งสูง สวนทางกับทักษะทางดิจิทัลที่ได้รับ ดังนั้นแล้วการอัพสกิลเพื่อโลกดิจิทัลจึงเป็นสิ่งสำคัญ

The Future of Jobs Report 2020 ให้ข้อมูลว่าทักษะด้านความรู้ (Hard skills) และทักษะด้านอารมณ์ (Soft skills) ที่ตลาดงานต้องการในปัจจุบัน และยังคงมีความสำคัญในอนาคต

นอกจากนี้ยังระบุว่าในปี 2025 หรือปี 2568 จะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มมากขึ้น ทำให้กว่า 50% ของลูกจ้างจำเป็นต้อง Reskill ใหม่ และคาดว่าอีก 6 เดือนข้างหน้า ลูกจ้างกว่า 40% ต้อง reskill ใหม่ หมายถึง การที่เรามี Skill เดิม แต่มีการเรียนรู้ปรับตัวเพื่อหยิบ Technology ใหม่ๆ มาใช้

และด้วยผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 และการเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตโนมัติมีมากขึ้น ส่งผลให้ลูกจ้างต้อง Reskills ใหม่ภายใน 5 ปีข้างหน้า งานกว่า 85 ล้านงานจะมีการแทนที่ด้วยเครื่องจักรกล

นอกจากนี้ยังระบุว่า นายจ้างกว่า 90% มีความคาดหวังว่าทักษะใหม่ๆ ที่จะได้จากการเรียนรู้หน้างาน ระยะเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้ทักษะใหม่ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ประเภทของทักษะ ประเภทของงานหรือวิชาชีพ ฯลฯ

ทักษะที่เกี่ยวกับคนและวัฒนธรรม การเขียน การขาย และการตลาด อาจใช้ระยะเวลาเรียนเพียง 1-2 เดือน ในขณะที่ทักษะด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ AI อาจใช้เวลา 2-3 เดือน ส่วนทักษะด้าน Cloud Computing และวิศวกรรมอาจใช้ระยะเวลานานกว่าทุกทักษะคือประมาณ 4-5 เดือน

* ตารางแคลอรี่ในเครื่องดื่ม (Calorie in Drinking)

สกิลดิจิทัลที่คนไทยต้องมี

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) สรุปทักษะด้านดิจิทัลที่คนไทยควรมีได้แก่

ทักษะคิดวิเคราะห์และนวัตกรรม (Analytical Thinking and Innovation) เป็นคนที่รู้จักคิดวิเคราะห์ ช่างสังเกต ช่างสงสัย ช่างถาม จับประเด็น แยกแยะและเชื่อมโยง นำไปสู่การคิดสร้างสรรค์งานใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมได้

* ตารางแคลอรี่ในเมล็ดธัญพืช (Calories in Whole Grain)

โดยสรุปทักษะทางด้านดิจิทัลที่คนไทยควรมี คือ

• การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน (Complex Problem-Solving) เป็นคนที่มีทักษะในการจัดการกับปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน มีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และหาแนวทางการแก้ไขที่ต้นตอของปัญหา

• การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning and Learning Strategies) การเรียนรู้จากการลงมือทำด้วยตัวเอง ฝึกคิดวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์กลุ่มพร้อมร่วมกันแก้ปัญหา ผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม

• ทักษะการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking and Analysis) เป็นคนที่มีทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ การคิดวิเคราะห์ตามหลักเหตุผล และประเมินความถูกต้อง มีความสมเหตุสมผล โดยใช้วิจารณญาณของความเป็นมนุษย์

• ทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creativity, Originality and Initiative) เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ คิดต่างไม่ซ้ำใคร (คิดนอกกรอบ) มีความคิดริเริ่มและกล้าที่จะทำในสิ่งใหม่

ส่วนประเทศอื่นๆ ก็จะมีความต้องการแรงงาน และทักษะที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริบทของประเทศนั้นๆ

* ตารางแคลอรี่ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (Calorie in Alcoholic Beverages)

ที่มา :
The Future of Jobs Report 2020
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.)
World Economic Forum 2020
World Digtal Competitiveness Ranking
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/927089

 
Posted : 13/03/2021 10:18 am
Share: