Guestpost โฟสฟรี ถ้าคุณมีสาระดีๆ ที่นี่เราให้คุณได้แบ่งปัน

Notifications
Clear all

พระยานรรัตนราชมานิต วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ

1 Posts
1 Users
0 Likes
156 Views
supachai
(@supachai)
Posts: 2492
Noble Member
Topic starter
 

image

ในวันมาฆบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนา ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยเราได้ถือเป็นวันสำคัญทางศาสนา ตอนเย็นจะมีการจัดเวียนเทียนตามวัดวาอารามต่างๆ ทั่วประเทศไทย เพราะคนไทยเราถือว่าเป็นวันสำคัญยิ่ง อันวันจาตุรงคสันนิบาตได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก หลังจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ธรรม และได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาจนแพร่หลายมาจนทุกวันนี้ วันมาฆบูชานี้เป็นวันที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาได้ทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์เป็นครั้งแรก และมีพระอรหันต์สาวกมาประชุมกันเป็นจำนวนมากถึง ๑,๒๕๐ องค์ โดยมิได้นัดหมายกันมาด่อนจึงถือเป็นเหตุอัศจรรย์ยิ่งนัก เพราะโอวาทปาฏิโมกข์นั้นเป็นหลักหัวใจของพระพุทธศาสนา เปรียบประดุจบ้านเมืองจะต้องมีกฏหมายรัฐธรรมนูญปกครอง ฉะนั้นจึงเป็นเหตุอันสำคัญยิ่ง

และในวันเสาร์ที่ ๕ กุมพาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๐ ซึ่งตรงกับขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีระกา เวลาประมาณ ๐๗.๔๐ น. ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา หลังจากโยมมารดาตักบาตรเสร็จเรียบร้อย ก็ได้คลอดบุตรเป็นชายมีนามตามที่ล้นเกล้าล้นกระหม่อมรัชกาลที่ ๖ ทรงแต่งตั้ง เป็น "พระยานรรัตนราชมานิต" มีนามเดิมว่า ตรึก จินตยานนท์ เป็นบุตรชายคนหัวปีของคุณพระนรราชภักดี (ตรอง จินตยานนท์) ซึ่งขณะท่านเกิดบิดายังมีบรรดาศักดิ์เป็นขุนชาญสุพรรณเขตร์ ส่วนโยมมารดาคืออุบาสิกา "นางนรราชภักดี" พุก จินตยานนท์ ส่วนสถานที่กำเนิดของท่านก็คือ ที่บ้านเลขที่ ๙๒ ถนนพระเนียง หลังวัดโสมมนัสววิหาร อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย จังหวัดพระนคร ในปัจจุบัน ข้างสนามมวยเวทีราชดำเนิน ขณะนี้

เมื่อตอนเป็นทารก เด็กชาย "ตรึก" ก็เจริญวัยขึ้นและเป็นเด็กน้อยที่มีเรือนร่างแบบบางผิวพรรณอันละเอียดอ่อนเปล่งปลั่งเป็นน้ำเป็นนวล อันเป็นบุคคลิกลักษณะบ่งบอกว่าเป็นผู้มีบุญวาสนาสูง เป็นที่รักใคร่แก่บิดามารดาและยายมากจนคุณยายของท่าานได้พูดเสมอว่า หลานชายคนนี้จะต้องได้พึ่งฝากผีฝากไข้ ซึ่งเป็นคำพังเพยของคนโบราณ เพราะท่านเป็นผู้มีความกตัญญุกตเวทีเป็นยอดและจะไม่มีวันตกต่ำ

ท่านมีน้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ดังจะได้ลำดับญาติดังต่อไปนี้

๑. โยมพ่อ - สหธัมมวิจาโร ภิกขุ พระภิกษุพระยานรราชภักดี (ตรอง จินตยานนท์)
๒. โยมแม่ - อุบาสิกา นางนรราชภักดี (พุก จินตยานนท์)
๓. โยมตา - แห รับราชการทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
๔. โยมยาย - นิล
๕. โยมปู่ - ขุนบำเรอราชา (อ้น) สังกัดกรมมหาดเล็กพระราชวังบวร
๖. โยมย่า - กลัด

สำหรับพี่น้องร่วมอุทรมีด้วยกัน ๕ คน

๑. ธัมมวิตักโก ภิกขุ พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์)
๒. เป็นหญิง ชื่อ สมบุญ ถึงแก่กรรมเมื่ออายุราว ๖-๗ ขวบ
๓. นางสรรพกิจโกศล
๔. เป็นชาย ถึงแก่กรรมแต่เล็ก ยังไม่ทันตั้งชื่อ
๕. นายตริ จินตยานนท์ ซึ่งเป็นข้าราชการบำนาญ สังกัดกระทรวงการคลัง

ประวัติรับราชการของท่าน ภายหลังเรียนจบได้เข้ารับราชการ ตั้งแต่อายุ ๑๗ ปี คือ

๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๗ โปรดเกล้าฯ ให้รับราชการในกรมมหาดเล็ก แผนกตั้งเครื่องยศมหาดเล็กวิเศษ
๑ เมษาายน ๒๔๕๘ เงินเดือนๆ ละ ๔๐ บาท
๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๘ ยศบรรดาศักดิ์ รองหุ้มแพร นายรอง เสนองามประภาษ เงินเดือน เพิ่ม ๒๐ บาท รวม ๖๐บาท
๑ เมษายน ๒๔๕๙ ย้ายไปอยู่กองห้องที่พระบรรทม
๓๐ สิงหาคม ๒๔๕๙ บรรดาศักดิ์หุ้มแพร นายเสนองามประภาษ
๑ กันยายน ๒๔๕๙ เงินเดือนเพิ่ม ๔๐ บาทรวม ๑๐๐ บาท
๓๑ ธันวาคม ๒๔๖๑ ยศบรรดาศักดิ์ รองหัวหมื่น หลวงศักดิ์นายเวร
๑ มกราคม ๒๔๖๑ เงินเดือนเพิ่ม ๑๐๐ บาท รวม ๓๐๐ บาท
๑ เมษายน ๒๔๖๓ เงินเดือนเพิ่ม ๔๐ บาท รวม ๓๔๐ บาท
๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔ ยศถาบรรดาศักดิ์ หัวหมื่น เจ้าหมื่นสรรเพชภักดี
๑ เมษายน ๒๔๖๕ เงินเดือนเพิ่ม ๑๖๐ บาท รวม ๕๐๐ บาท
๑ ธันวาคม ๒๔๖๕ เจ้ากรมห้องที่พระบรรทม
๓๐ ธันวาคม ๒๔๖๕ บรรดาศักดิ์ พระยานรรัตนราชมานิต
๑ กรกฏาคม ๒๔๖๗ องคมนตรี ร.๖
๑ มกราคม ๒๔๖๗ ยศจางวางตรี
๑ เมษายน ๒๔๖๘ เงินเดือนเพิ่ม ๒๐๐ บาท รวม ๗๐๐ บาท
๔ เมษายน ๒๔๖๙ องคมนตรี ร.๗
๑ เมษายน ๒๔๖๙ โปรดเกล้าฯ ให้ยุบเลิกตำแหน่งหน้าที่ราชการกรมมหาดเล็กหลวงได้รับพระราชทาานบำนาญเดือนละ ๘๔ บาท

๒๔ มีนาคม ๒๔๖๘ วันถวายพระเพลิงพระบรมศพล้นเกล้าล้นกระหม่อม พระบาทสสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้อุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาส มี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเถร) เมื่อครั้งยังเป็นพระสาสนโสภณ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระพุทธวิริยากร เจ้าอาวาสวัดโสมนัสวิหาร และพระอุดมสีลคุณ วัดเทพศิรินทราวาส เป็นพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบทเสร็จแล้วไปถวายพระเพลิงล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ณ พระเมรุท้องสนามหลวงพร้อมด้วยพระอุปัชฌาย์

๘ มกราคม ๒๕๑๔ ถึงมรณภาพด้วยความชรา (บันทึก ส.น.ว.ที่ ๓๑๔ ลว.๑๑ ม.ค. ๒๕๑๔)

เครื่องราชอสริยาภรณ์และสิ่งของที่ได้รับพระราชทาน

๒๑ มกราคม ๒๔๕๗ เหรียญราชรุจิทอง
๒ มกราคม ๒๔๕๘ เหรียญรัตนาภรณ์ขั้น ๕
๓๑ ธันวาคม ๒๔๕๙ ตรามกุฏสยามชั้น ๕
๑๘ เมษายน ๒๔๖๐ ตราวชิรมาลา
๓๑ ธันวาคม ๒๔๖๐ เบญจมาภรณ์ช้างเผือก ๕
๓๑ ธันวาคม ๒๔๖๑ ตรามงกุฏสยาม ชั้น๔
๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔ เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้น ๓
๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๖๕ ตราตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ ตรามงกุฏสยามชั้น ๑ (ปถมาภรณ์มงกุฏสยาม)
๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๘ เหรียญบรมราชาภิเษกทอง (รัชกาลที่ ๗)
๔ เมษายน ๒๔๗๕ เหรียญเฉลิมพระนคร ๑๕๐ ปี เงินกาไหล่ทอง

ปรากฏตามประวัติรับราชการว่า เริ่มเข้ารับราชการแผนกตั้งเครื่อง เมื่อ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๗ รับราชการอยู่ ๑ ปี กับ ๑ เดือนเศษ ก็โปรดเกล้าฯ ให้ไปอยู่ห้องบรรทม

นับอายุตั้งแต่รับราชการจนวาระอุปสมบทได้ ๑๑ ปี กับ ๑ เดือน จัดได้ว่าไม่มีผู้ใดที่จะมีอนาคตที่รุ่งเรืองเทียบท่านได้

ท่านเป็นผู้มีความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว แม้แต่จะอุปสมบทท่าานก็ได้บำเพ็ญเพียรปฏิบัติ เรียกว่าจะหาพระภิกษุในยุคนี้ ที่มีปฏิปทาการปฏิบัติได้อย่างท่านแทบจะไม่มีเลย

มีเรื่องเล่าว่าขณะที่ท่านจะบวช ท่านได้พยายามที่จะเลือกเฟ้นหาพระที่จะมาเป็นอุปัชฌาย์ โดยท่านได้อาศัยสังเกตลายมือจากพระที่ท่านได้มาถวายภัตตาหาร ท่านก็ได้เลือกสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ซึ่งขณะนั้นยังเป็นพระศาสนาโสภณ) ท่าานบอกว่าท่านได้พบกัลยาณมิตรในทางธรรมแล้ว เพราะพระอุปัชฌาย์ในด้านพุทธศาสนาถือว่าเปรียบประดุจบิดาผู้ให้กำเนิด เพราะฉะนั้นท่านจึงถือเป็นพิถีพิถันสำหรับในเรื่องนี้

เมื่อท่านได้อุปสมบทแล้วก็ได้ศึกษาธรรมะจากสมเด็จพระอุปัชฌาย์ จนเห็นความแตกต่างที่แทรกซ้อนอยู่ในความสุข จนกล่าวได้ว่าไม่มีความสุขใดในชีวิตฆราวาสที่จะไม่มีความทุกข์ที่จะแทรกซ้อนอยู่ในความสุขนั้น เหมือนกับชีวิตของท่านที่ได้ประสบมา เมื่อท่านได้พิจารณาธรรมอันละเอียดได้ดังนี้ ท่านจึงได้ใฝ่หาทางที่จะพ้นทุกข์

แต่ท่านก็ได้ใช้เวลาตัดสินใจในพรรษาที่ ๖ ในขณะที่ท่านอุปสมบทจากพรรษาแรกท่านออกบิณฑบาต คือ ออกโปรดสัตว์ทุกวันที่บ้านโยมบิดามารดาเป็นประจำ และหลังจากเสร็จกิจวัตรลงพระอุโบสถแล้ว ท่านจะไม่ยอมย่างกรายออกจากกุฏิเลย ท่านได้พยายามบำเพ็ญเพียรเจริญสมาธิอย่างแน่วแน่ เพราะขณะนั้นยังเป็นระยะช่วงเวลาอันสั้น ท่านไม่ยอมปล่อยเวลาให้ล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์ และเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตตอนพรรษาที่ ๖ ใกล้เข้ามา ท่านได้เห็นความอนิจจังไม่เที่ยงแท้แน่นอนของบ้านเมือง ถ้าท่านจะลาสิกขาออกไปก็เหมือนกับได้ก้าวลงไปสู่ความวุ่นวาย ในเมื่อท่านได้ก้าวขึ้นมาจากโคลนตมแล้วเหตุไฉนท่านจะกระโดดลงไปอีกเล่า

เมื่อท่านตัดสินใจดังนี้นับตั้งแต่ปีพรรษาที่ ๕ ท่านก็หยุดออกบิณฑบาต สาเหตุเนื่องจากท่านได้ออกโปรดสัตว์โดยปกติ ได้มีญาติโยมที่เลื่อมใสในตัวท่านได้จัดอาหารไว้ใส่บาตรในตอนเช้า แต่ได้มีพระภิกษุสามเณรได้รับตัดหน้าท่าน ญาติโยมที่ตั้งใจใส่บาตรท่านก็บ่น ท่านได้ยินเข้าก็เกิดสังเวชใจ นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ท่านก็มิได้ออกบิณฑบาตโปรดสัตว์อีกเลย ท่านบอกว่าถ้าท่านไม่ได้ออกก็จะทำให้พระเณรได้มีโอกาสได้รับบิณฑบาตอาหาร จึงนับได้ว่าท่านยุติการออกโปรดสัตว์นับตั้งแต่ล่วงพรรษาที่ ๕ ไปแล้ว สำหรับอาหารนั้นท่านได้ให้ทางบ้านจัดให้เป็นพิเศษ

(บทความนี้ได้คัดลอกมาจาก หนังสือกิตติคุณ พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต จึงขอขอบคุณมา ณ ที่นี้)

#เจ้าคุณนร พุทธคุณ
#เจ้าคุณ นร กับ ร. 6
#คําสอนเจ้าคุณนรรัตน์วัดเทพศิรินทร์
#ปาฏิหาริย์เจ้าคุณนร
#เจ้าคุณนร พระเครื่อง
#เจ้าคุณนร ราคา
#เจ้าคุณ นร ละสังขาร
#เหรียญเจ้าคุณนร 2513 ราคา

 
Posted : 18/10/2021 8:35 pm
Share: