Guestpost โฟสฟรี ถ้าคุณมีสาระดีๆ ที่นี่เราให้คุณได้แบ่งปัน

Notifications
Clear all

"กิโยติน" เครื่องประหารที่สร้างความเจ็บปวดน้อยที่สุด! ก่อนตาย มีประวัติและที่มาอย่างไร

1 Posts
1 Users
0 Likes
563 Views
supachai
(@supachai)
Posts: 2492
Noble Member
Topic starter
 

 กิโยตินอะไร,กิโยตินคืออะไร,ปฏิบัติการกิโยติน,พยัคฆ์ร้ายกิโยตินpantip 

จากกรณีเกิดเหตุน่าสลด เจ้าสำนักภูหินกองบนเขาภูพาน บ้านนาแค ต.หนองบัว อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จ.หนองบัวลำภู ฆ่าตัวตาย ซึ่งผู้ตายคือพระธรรมกร วัย 68 ปี โดยใช้เครื่องตัดคอกิโยตินตัดคอตัวเองเสียชีวิต หวังถวายเป็นพุทธบูชา จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ถึงเรื่องดังกล่าวนั้น

* เจ้าสำนักสงฆ์ "ตัดหัวตัวเอง" อ้างเป็นพุทธบูชา เพื่อจะได้ตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพระพุทธเจ้า

สำหรับ "กิโยติน" (ฝรั่งเศส: guillotine) เป็นชื่อเรียกของอุปกรณ์การประหารชีวิตของชาววฝรั่งเศส ถูกประดิษฐ์ขึ้นในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสเพื่อใช้ตัดคอนักโทษ ประกอบโครงโดยส่วนมากจะเป็นไม้ ไว้สำหรับแขวนใบมีดรูปสี่เหลี่ยมคางหมู น้ำหนักประมาณ 40 กก. ใบมีดจะถูกแขวนไว้ในส่วนบนสุด ภายใต้ใบมีดจะเป็นส่วนที่ให้ผู้ถูกลงโทษวางศีรษะ เมื่อเชือกได้ถูกปล่อยหรือตัดลง ใบมีดที่หนักจะหล่นลงไม้ในระยะทางประมาณ 2.3 เมตร และตัดศีรษะผู้ถูกประหาร (ความสูงและน้ำหนักตามมาตรฐานกิโยตีนฝรั่งเศส)

กำเนิดกิโยติน

หลาย ๆ คนอาจจะเข้าใจว่าผู้คิดค้นเครื่องประหารกิโยตีนคือคนที่ชื่อกิโยตีน แต่ความจริงแล้ว คนที่คิดค้นและออกแบบเครื่องประหารชนิดนี้คือ แพทย์ชาวฝรั่งเศส "อองตวน หลุยส์(Antoine Louis)" สมาชิกของกลุ่ม Académie Chirurgical(สมาชิกสมาคมศัลยศาสตร์) โดยเครื่องกิโยตินตอนแรกได้ใช้ชื่อว่า หลุยซอง (Louison) หรือ หลุยเซท (Louisette) แต่ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "กิโยติน" ตามชื่อของ ดร.โฌเซฟ-อินแนซ กิโยแตง (Joseph-Ignace Guillotin) แพทย์ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้เสนอแนะการประหารชีวิตโดยการตัดคอ ภายหลัง ดร.กิโยติน ได้เปลี่ยนนามสกุล เนื่องจากไม่ต้องการใช้ชื่อสกุล เป็นคำเดียวกับวิธีการประหารชีวิต 

โดยแนวคิดในการสร้าง "กิโยติน" ของนายแพทย์หลุยส์ เขามีความเชื่อว่า "จุดมุ่งหมายของการประหารชีวิต คือการยุติชีวิต ไม่ใช่การสร้างความเจ็บปวดทรมาน" เนื่องจากเขาเห็นว่า โทษประหารโดยการแขวนคอที่มักใช้ในยุคกลาง ทำให้นักโทษรู้สึกทรมานมาก และในขณะเดียวกัน โทษประหารชีวิตโดยใช้มีดหรือขวาน ก็มีหลายครั้งที่เพชฌฆาตหั่นคอไม่ขาดในครั้งเดียว สร้างความทรมานให้กับนักโทษ ซึ่งในช่วงก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส ผู้มีชื่อเสียงจะถูกตัดคอโดยดาบหรือขวาน ในขณะที่ชาวบ้านทั่วไปจะถูกแขวนคอ หรือวิธีการประหลาดต่างๆ ในช่วงของยุคกลาง (เช่น ถูกเผา หรือมัดกับล้อไม้) ในการตัดคอ มีหลายครั้งที่ตัดคอไม่สำเร็จในดาบแรก ทำให้เกิดความทรมานต่อผู้ถูกประหารชีวิต 

กิโยติน และยุคปฏิวัติฝรั่งเศส

ซึ่งในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส มีผู้ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตินอย่างน้อย 20,000 คน และเครื่องประหารนี้ก็ยังถูกใช้งานในอีกหลายประเทศและทุกครั้งที่มีการประหารก็มักเป็นที่สนใจของคนทั่วไปอยู่เสมอๆ และยังถือว่า "กิโยตินเป็นเครื่องประหารชนิดเดียวที่ถูกกฎหมาย"  ซึ่งชายคนแรกที่ถูกกิโยตินปลิดชีวิตก็คือ นีกอลา ฌัก แปลตีแย โจรที่ก่อคดีปล้นต่างๆ โดยถูกตัดสินให้ประหารชีวิตในวันที่ 25 เมษายน 1792 (พ.ศ.2335)

ถึงแม้ว่าประเทศฝรั่งเศสได้ชื่อว่าเป็นประเทศแรกที่ใช้การประหารชีวิตด้วย "กิโยติน"  แต่ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 สหราชอาณาจักร มีเครื่องลงโทษลักษณะที่คล้ายกันชื่อ จิบบิต (gibbet) และมีเครื่องลงโทษลักษณะคล้ายกันใน ประเทศอิตาลี และ สวิตเซอร์แลนด์

กิโยตินอะไร,กิโยตินคืออะไร,ปฏิบัติการกิโยติน,พยัคฆ์ร้ายกิโยตินpantip

ชีวิตหลังการตัดหัว

หากพูดถึงการศึกษาเกี่ยวกับการตัดหัวด้วย "กิโยติน" แล้วไม่พูดถึงบุคคลหนึ่งก็คงไม่ครบถ้วน โดยบุคคลนั้นคือ อ็องตวน ลาวัวซีเย (Antoine Lavoisier) นักเคมีชาวฝรั่งเศส ผู้ตั้งกฎการอนุรักษ์มวล และล้มล้างทฤษฎีโฟลจิสตัน ที่เชื่อว่าในสสารมีโฟลจิสตันที่เป็นธาตุไฟแทรกอยู่ แต่เขากลับต้องจบชีวิตลงด้วยกิโยติน

"ลาวัวซีเย" ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฎโดยคณะปฏิวัติฝรั่งเศส เพราะเขามีความเกี่ยวข้องกับระบบการจัดเก็บภาษี ซึ่งคณะปฎิวัติมองว่าเป็นการเอาเปรียบประชาชนในยุคนั้น แต่อีกกระแสหนึ่งก็เชื่อว่าที่เขาถูกตัดสินดังกล่าวก็เพราะว่า ลาวัวซีเย คือคนที่กล่าววิพากษ์วิจารณ์ ประเด็นต่างๆอย่างตรงไปตรงมา ทำให้เขามีศัตรูเป็นจำนวนมาก จนสุดท้ายเขาถูกตัดสินให้ประหารชีวิตด้วยกิโยติน โดยมีเรื่องเล่าที่พูดต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ว่า เขาได้สั่งเสียให้ลูกศิษย์ของเขาคอยจับเวลาว่า "หลังจากถูกตัดหัวไปแล้ว เขาจะสามารถรับรู้เรื่องต่างๆได้อีกนานแค่ไหน โดยลาวัวซีเยจะกะพริบตาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อหัวของเขาถูกตัดแล้ว เขาสามารถกะพริบตาต่อได้กว่า 15 วินาที"

จุดสิ้นสุดของกิโยติน

กิโยตีนถือเป็นเครื่องประหารชนิดเดียวที่ถูกกฎหมายของฝรั่งเศส และคนสุดท้ายที่ถูกตัดสินให้ประหารชีวิตโดยกิโยตินคือ Hamida Djandoubi ด้วยคดีขมขื่นและฆ่า ในวันที่ 10 กันยายน 1977 (พ.ศ.2520) แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ก็มีการบันทึกว่านาซีได้นำเครื่องกิโยตีนมาใช้ในการประหารชีวิตผู้ที่ต่อต้านระบอบนาซีในเยอรมนี โดยมีผู้ถูกประหารไปกว่า 16,500 คน ระหว่าง 1933 – 1945 (พ.ศ.2476-2488)

ส่วนชื่อเสียงของกิโยตินนั้น เป็นที่รู้จักในสายของชาวโลก "ในฐานะเครื่องประหารที่ใช้บั่นพระเศียรพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระราชินีมารี อองตัวเน็ต และเป็นสัญลักษณ์ของสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว" นั่นเอง

https://www.dailynews.co.th/regional/837853

 
Posted : 18/04/2021 5:43 pm
Share: